PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

02 ต้อหิน


ต้อหิน

ต้อหิน เป็นอาการของโรคตาที่เกิดจากความดันภายในลูกตาสูงผิดปกติ เป็นผลให้ประสาทตากระทบกระเทือนและสูญเสียการมองเห็น ภายในลูกตาจะมีของเหลว (Aqueous) ที่เป็นวุ้น ซึ่งจะมีการหมุนเวียน ถ่ายเทอยู่เสมอ โดยน้ำวุ้นนี้จะไหลออกจากดวงตาไปตามท่อที่อยู่มุมหัวตา เพื่อกลับคืนสู่กระแสโลหิต หากร่างกายผลิตน้ำวุ้นมากเกินไป หรือระบบระบายทำงานต่ำกว่าปกติ จะมีผลทำให้ความดันในดวงตาพุ่งสูงขึ้น

อะไรคือสาเหตุ :

ความผิดปกติของความดันภายในลูกตาเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดการลุกลามของต้อหิน ภายในลูกตาของเรานั้น จะมีส่วนเรียกว่า ช่องด้านหน้าของลูกตา (Anterior Chamber) ซึ่งมีตำแหน่งอยู่หลังกระจกตา แต่อยู่หน้าม่านตา และภายในช่องนี้ มีของเหลว ที่เรียกว่า Aqueous humor บรรจุอยู่เต็ม ของเหลวนี้จะทำหน้าที่นำ ออกซิเจน และสารอาหารที่จำเป็นไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ซึ่งทั่วไปแล้วอัตราการสร้างของเหลวนี้จะสมดุลพอดีกับอัตราการไหลออก เราจึงมีระดับความดันภายในลูกตาที่ปกติ แต่ในสภาวะที่เป็นต้อหิน ของเหลวนี้จะไหลออกจากลูกตาด้วยอัตราที่น้อยลง จนทำให้ระดับความดันภายในลูกตาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างช้าๆ และต่อเนื่อง ซึ่งถ้าเพิ่มขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ขั้วประสาทถูกทำลาย จนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น

ใครบ้างที่อาจเป็นต้อหิน :

1. ผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคต้อหิน

2. ผู้มีวัยสูงกว่า 50 ปี

3. ผู้เป็นโรคเบาหวาน

4. ผู้มีภาวะสายตาสั้นมากๆ

5. ผู้ที่ดวงตาเคยเป็นแผล

อาการเป็นอย่างไร :

สำหรับผู้ที่ตรวจพบเป็นต้อหินในระยะแรกๆ นั้น สายตาจะยังปกติอยู่ ไม่มีอาการปวด หรือผิดปกติใดๆ แต่เมื่อปล่อยให้โรคนี้ลุกลาม ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกถึงการมองเห็นที่เปลี่ยนไป โดยจะมองเห็นวัตถุที่อยู่ข้างหน้าได้ชัดดี แต่จะไม่เห็นวัตถุที่อยู่ข้างๆ ซึ่งหมายความว่า ลานสายตาของผู้ป่วยแคบลง และถ้าไม่ทำการรักษา อาการของโรคจะทวีความรุนแรงมากขึ้น จนทำให้ลานสายตาค่อยๆแคบลง จนสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นต้อหิน :

ต้อหินถูกเรียกว่า “ขโมยสายตา” เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วไม่ปรากฏอาการใด จะทราบได้ด้วยการตรวจลานสายตาเท่านั้น

ต้อหินมีสี่ประเภท คือ

ต้อหินเรื้อรัง หรือ ต้อหินมุมเปิด ซึ่งพบมากที่สุดและเป็นกรรมพันธุ์ เกิดจากการที่แรงดันสะสมเพิ่มขึ้นทีละน้อยเป็นเวลานาน และทำลายการมองเห็นจากรอบนอกสู่ศูนย์กลางดวงตา

ต้อหินแบบเฉียบพลัน หรือ ต้อหินมุมปิด จะสร้างความเจ็บปวดรุนแรง และสายตาจะพร่ามัวฉับพลัน เนื่องจากความดันภายในลูกตาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจมีอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้ร่วมด้วย เมื่อเกิดอาการดังกล่าวควรไปพบจักษุแพทย์ทันที

ต้อหินแบบชั่วคราว หรือ ต้อหิน secondary เกิดจากแผลในดวงตา ตาอักเสบ เนื้องอก ตาบวม หรือแม้กระทั่งยาบางชนิด เช่น ยาหยอดตาบางชนิดที่มีสารสเตอรอยด์

ต้อหินโดยกำเนิด เป็นต้อหินประเภทสุดท้าย ซึ่งพบได้น้อยมาก

รักษาได้อย่างไร :

1. การใช้ยา มีทั้งยาหยอดและรับประทาน ตัวยาจะออกฤทธิ์ลดความดันลูกตา โดยลดการสร้างของเหลว ในด้านหน้าลูกตา หรือไปช่วยการไหลของของเหลวนี้ออกจากลูกตา หัวใจสำคัญอยู่ที่การใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมความดันลูกตาอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้ไปทำลายขั้วประสาทตาและลานสายตารวมทั้งการมองเห็น

2. การใช้อาร์กอนเลเซอร์ ซึ่งเป็นเลเซอร์ ที่มีพลังงานสูง โดยจะฉายแสงไปที่บริเวณมุมของช่องด้านหน้าลูกตา เพื่อเปิดให้ของเหลวในลูกตา ไหลออกไปสู่ระบบไหลเวียนลูกตาได้สะดวกขึ้น

3. การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเปิดทางให้ของเหลว Aqueous ไหลออกจากตาได้อย่างสะดวก ซึ่งมักจะทำเฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้วิธีอื่นๆ

วิธีป้องกันการสูญเสียสายตาด้วยโรคต้อหิน สามารถทำได้หากตรวจพบในระยะเริ่มแรกและมีการรักษาอย่างถูกต้อง โดยการรับประทานยาและหยอดตาควบคู่กันไป การหยอดตาอย่างสม่ำเสมอด้วยวิธีที่ถูกต้องสำคัญมากในการรักษาโรคต้อหิน อีกทางหนึ่งคือ การรักษาด้วยเลเซอร์ ซึ่งไม่เจ็บปวดเลยและสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าพักในโรงพยาบาล การผ่าตัดเพื่อสร้างระบบระบายของเหลวใหม่อาจเป็นสิ่งจำเป็น หากไม่สามารถควบคุมต้อหินได้ด้วยวิธีอื่น