PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

41 10โรคร้ายที่น่ากลัว...(โรคที่7 ถึงโรคที่10)


คลิกที่นี่...(โรคที่1 ถึงโรคที่6)


7. โรคไต

หมายถึง โรคอะไรก็ได้ที่มีความผิดปกติหรือที่เรียกว่า พยาธิสภาพ เกิดที่บริเวณไต ที่พบมากได้แก่ โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ หรือโรคความดันโลหิตสูง โรคไตอักเสบเนโฟรติก โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรคเอส.แอล.อี.) โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)

อาการ:

ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้ โดยจะปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำ ล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มก็ได้

ปัสสาวะเป็นฟองมาก เพราะมี albumin หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาวๆเหมือนฟองสบู่ การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆกัน เป็นข้อสันนิษฐานที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต

ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่นพวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น

การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากและท่อทางเดินปัสสาวะ

การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ

การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็นโรคไตเป็นถุงน้ำ การอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต การปวดหลัง ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่นและปวดหลังบริเวณไตคือบริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย

อาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณหนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมากจะมีอาการบวมทั่วตัว อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติค ซินโดรม (Nephrotic Syndrome) ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไต มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิต สูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆ ความดันโลหิตก็จะสูงได้

ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure) เนื่องจากปกติไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) เพื่อไป กระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรังไตจะไม่สามารถ สร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีดหรือ โลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลมบ่อยๆ

อย่างไรก็ตามควรต้องไปพบแพทย์ ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้นว่าเป็นโรคไตหรือไม่

สาเหตุ:

เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียวหรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น

เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)

เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคที่เรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค) เป็นต้น

เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น

เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด

คำแนะนำ:

1. กินอาหารโปรตีนต่ำ หรืออาหารโปรตีนต่ำมากร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น โดยกินอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งหมายถึงโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิดจำนวน 0.6 กรัม ของโปรตีน/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน โดยไม่ต้องให้กรดอะมิโนจำเป็น หรือกรดคีโต (Keto Acid) เสริม เพราะอาหารโปรตีนในขนาดดังกล่าวข้างต้นให้กรดอะมิโนจำเป็นในปริมาณที่พอเพียงกับความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว

ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยซึ่งมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย ประมาณ 50-60 กิโลกรัม ควรกินอาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูงประมาณ 30-60 กรัม/วัน อาจจำกัดอาหารโปรตีน เพื่อชะลอการเสื่อมหน้าที่ของไตได้อีกวิธีหนึ่งโดยให้ผู้ป่วยกินอาหารโปรตีนต่ำมาก (0.4 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน) ร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็นหรืออนุพันธ์คีโต (Keto Analog) ของกรดอะมิโนจำเป็น ในกรณีผู้ป่วยมีน้ำหนักเฉลี่ยน 50-60 กิโลกรัม ควรกินโปรตีนประมาณ 20-25 กรัม/วัน เสริมด้วยกรดอะมิโนจำเป็น หรืออนุพันธ์ครีโตของกรดอะมิโนจำเป็น 10-12 กรัม/วัน

2. กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังควรควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอล ในอาหารแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัม/วัน ด้วยการจำกัดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ทุกชนิด และนม เป็นต้น

3. งดกินอาหารที่มีฟอสเฟตสูง ฟอสเฟตมักพบในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นม และเมล็ดพืชต่างๆ เช่น ถั่วลิสง เม็ดทานตะวัน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดอัลมอนด์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว พบว่าอาหารที่มีฟอสเฟตสูง จะเร่งการเสื่อมของโรคไตวายเรื้อรังให้รุนแรงมากขึ้น และมีความรุนแรงของการมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมากขึ้น นอกเหนือจากผลเสียต่อระบบกระดูกดังกล่าวข้างต้น

4. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ไม่มีอาการบวม การกินเกลือในปริมาณไม่มากนัก โดยไม่ต้องถึงกับงดเกลือโดยสิ้นเชิง แต่ไม่ควรกินเกลือเพื่อการปรุงรสเพิ่ม ผู้ป่วยที่มีอาการบวมร่วมด้วย ควรจำกัดปริมาณเกลือที่กินต่อวันให้น้อยกว่า 3 กรัมของน้ำหนักเกลือแกง (เกลือโซเดียมคลอไรด์) ต่อวัน ซึ่งทำได้โดยกินอาหารที่มีรสชาดจืด งดอาหารที่มีปริมาณเกลือมาก ได้แก่ เนื้อสัตว์ทำเค็ม หรือหวานเค็ม เช่น เนื้อเค็ม ปลาแห้ง กุ้งแห้ง รวมถึงหมูแฮม หมูเบคอน ไส้กรอก ปลาริวกิว หมูสวรรค์ หมูหยอง หมูแผ่น ปลาส้ม ปลาเจ่า เต้าเจี้ยว งดอาหารบรรจุกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง เนื้อกระป๋อง

5. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีน้ำหนักเกินน้ำหนักจริงที่ควรเป็น (Ideal Weight for Height) ในคนปกติ ควรจำกัดปริมาณแคลอรีให้พอเพียงในแต่ละวันเท่านั้น คือ ประมาณ 30-35 กิโลแคลอรี/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน


8. โรคหัวใจ

ชนิดและสาเหตุของโรคหัวใจ

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ความผิดปกตินี้อาจเกิดขึ้นกับทุกส่วนของหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจหรือตัวห้องหัวใจเอง มีสภาพไม่สมบูรณ์

โรคลิ้นหัวใจ ลิ้นหัวใจพิการอาจเป็นแต่กำเนิดหรือมาเป็นภายหลังได้ ที่มาเป็นภายหลังส่วนมาก เกิดจากการติดเชื้อคออักเสบ และไม่ได้รับการรักษา อย่างถูกต้อง ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อต้านหัวใจตัวเอง เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ และ เกิดลิ้นหัวใจพิการ (ตีบ รั่ว) ตามมา นอกจากนั้นลิ้นหัวใจพิการยัง อาจเกิดจากการติดเชื้อที่หัวใจโดยตรง หรือเกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจเอง โดยมากแล้วเราสามารถผ่าตัดแก้ไขได้

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือ คลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ เป็นต้น โรคที่พบบ่อย คือ กล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย บางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เป็นต้น

โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคกลุ่มเดียวกัน เพราะหลอดเลือดหัวใจจะนำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อหลอดเลือดผิดปกติจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การทำงานจึงผิดปกติ โรคของหลอดเลือดหัวใจอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการสะสม ของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด (ไม่ใช่มีก้อนไขมันในเลือดลอยไปอุดตัน ตามที่เข้าใจกัน)

โรคเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่เกิดการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย หรือ เชื้อวัณโรค

โรคนี้ส่วนใหญ่รักษาได้ ยกเว้นกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มหัวใจ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กลุ่มนี้มีหลายชนิดมาก บางชนิดไม่เป็นอันตราย บางชนิดอันตรายมาก (ส่วนใหญ่ของกลุ่มที่ร้ายแรง มักมีความผิดปกติ ของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจด้วย) สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติไป เช่น มีจุดกำเนิด ไฟฟ้าแปลกปลอมขึ้น หรือ เกิดทางลัด (เรียกง่ายๆว่า ไฟช็อต) ในระบบ เป็นต้น

การติดเชื้อที่หัวใจ พบได้บ่อยในผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำ หรือ ติดยาเสพติดชนิดฉีด โดยมากเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ซึ่งจะเป็นปัญหาในการรักษา อย่างมาก โรคหัวใจในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ก็เป็นอีกกลุ่มที่มีลักษณะของโรคหลากหลายมาก

อาการ: เจ็บหน้าอก

1. เจ็บแน่นๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้าย หรือ ทั้งสองด้าน (มักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว) บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้าย หรือทั้งสองข้าง หรือจุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน เกิดขึ้นขณะออกกำลัง เช่น เดินเร็วๆ รีบ หรือขึ้นบันได วิ่ง โกรธโมโห อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง

2. เจ็บแหลมๆคล้ายเข็มแทง เจ็บแปล๊บๆ เจ็บจุดเดียว กดเจ็บบริเวณหน้าอก อาการหอบ เหนื่อยง่าย เวลาออกแรงใจสั่น หมายถึง การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือ เต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆหยุดๆ

ขาบวม เกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถ ไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น เป็นลม วูบ หมายถึง การหมดสติ หรือ เกือบหมดสติ ชั่วขณะ โดยอาจรู้สึกหน้ามืด จะเป็นลม ตาลาย มองไม่เห็นภาพชัดเจน โดยอาการเป็นอยู่ชั่วขณะ

คำแนะนำ:

1. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง

2. หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม

3. เน้นอาหารที่มีเส้นใย (fiber)

4. เลิกบุหรี่

5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

6. ควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตสูง

7. ทำจิตใจให้ผ่องใส


9. โรคกระดูกพรุน หรือ osteoporosis

คือภาวะที่เนื้อกระดูกของร่างกายลดลงอย่างมาก และเป็นผลให้โครงสร้างของกระดูกไม่แข็งแรง ทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีเช่นเดิม โรคกระดูกพรุนเป็นโรคของผู้สูงอายุ โดยปกติร่างกายเราจะมีกระบวนสร้างและสลายกระดูก เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิน 40 ปี กระบวนสร้างจะ ไม่สามารถไล่ทันกระบวนสลายได้ นอกจากนั้น เมื่ออายุมากขึ้นการดูดซึมของทางเดินอาหาร จะเสื่อมลงทำให้ร่างกายต้องดึงสารแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ ผลคือ ร่างกายต้องสูญเสียปริมาณเนื้อกระดูกมากขึ้น

ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

- หญิงวัยหมดประจำเดือน

- การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้กระดูกสลายตัวในอัตราที่เร็วขึ้น

- ผู้สูงอายุ

- โรคกระดูกพรุนถ่ายทอดได้ทางกรรมพันธุ์ ตามสถิติพบว่า ชนชาวเอเชียและคนผิวขาว มีโอกาสเป็นโรคได้มากกว่าคนผิวดำ

- รูปร่างเล็ก ผอม

- รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ

- ออกกำลังน้อยไป

- สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ

- ใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการสลายเซลล์กระดูก เช่น สเตียรอยด์

- เป็นโรคเรื้อรัง เช่น ไขข้ออักเสบ โรคไต

- รับประทานอาหารจำพวกโปรตีนและอาหารมีกากมากเกินไป

- รับประทานอาหารเค็มจัด

อาการของโรคกระดูกพรุน

ระยะแรกมักไม่มีอาการ เมื่อเริ่มมีอาการแสดงว่าเป็นโรคมากแล้ว อาการสำคัญของโรค ได้แก่ ปวดตามกระดูกส่วนกลางที่รับน้ำหนัก เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และอาจมีอาการปวดข้อร่วมด้วย ต่อมาความสูงของลำตัวจะค่อยๆลดลง หลังจะโก่งค่อม หากหลังโก่งค่อมมากๆจะทำให้ปวดหลังมากเสียบุคลิก เคลื่อนไหวลำบากระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารถูกรบกวน เมื่อเป็นโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจ จะหายยาก ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ท้องอืดเฟ้อ และท้องผูกเป็นประจำ

โรคแทรกซ้อนที่อันตรายที่สุดของโรคกระดูกพรุน คือ กระดูกหัก บริเวณที่พบมากได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ซึ่งหากที่กระดูกสันหลังหัก จะทำให้เกิดอาการปวดมาก จนไม่สามารถ เคลื่อนไหว ไปไหนได้

การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน

วิธีที่ดีที่สุดคือ การเสริมสร้างเนื้อกระดูกของร่างกายให้มากที่สุดตั้งแต่อายุยังน้อย อย่างไรก็ตาม คนทุกวัยควรให้ความสนใจในการป้องกันโรคกระดูกพรุนด้วยการปฏิบัติตนดังนี้

- รับประทานอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ตามหลักโภชนาการ

- รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต กุ้งแห้งตัวเล็ก กุ้งฝอย ไม่รับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป

- เลี่ยงอาหารเค็มจัด

- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการสร้างกระดูก และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง

- การทรงตัวดี ป้องกันการหกล้มได้

- หลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ

- เลี่ยงยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์

- ระมัดระวังตนเองไม่ให้หกล้ม

การใช้ยาในการป้องกันและรักษาจะแตกต่างกันตามปัจจัยต่างๆในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น อายุ เพศ และระยะเวลาหลังการหมดประจำเดือน

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน

การวินิจฉัยโรคนี้ในระยะเริ่มแรก ทำได้โดยการตรวจความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่องวัดความหนาแน่น ของกระดูก (BoneDensitometer) การตรวจนี้เป็นการตรวจโดยใช้แสงเอกซเรย์ที่มีปริมาณน้อยมากส่องตามจุดต่างๆที่ต้องการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร ์คำนวณหาค่าความหนาแน่น ของกระดูกบริเวณต่างๆเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน สตรีอายุ 40 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางรายที่มีความเสี่ยง ได้แก่ รูปร่างผอม ดื่มเหล้า กาแฟ สูบบุหรี่ ทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย ไม่ออกกำลังเป็นประจำ หรือ รับประทานยาสเตียรอยด์ ควรเข้ารับการตรวจความหนาแน่น ของกระดูกเป็นประจำทุกปี

 
10. อัมพฤกษ์ อัมพาต

จากโรคหลอดเลือดในสมอง

โรคหลอดเลือดในสมองเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 รองจากโรคหัวใจและมะเร็ง ซึ่งหากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีชีวิตอยู่ก็มักจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ได้แก่ อัมพฤกษ์ อัมพาต นั่นเอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมองแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขและควบคุมได้ มักสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผสมอยู่ ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ความเครียด ความอ้วน

ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ ได้แก่ อายุ จากการศึกษาพบว่าโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองจะมากขึ้น ตามอายุที่เพิ่มขึ้น เพศ เชื้อชาติ และกรรมพันธุ์

อาการเริ่มต้นของอัมพฤกษ์ ที่สังเกตได้และควรไปพบแพทย์ ดังนี้คือ

1. เกิดอาการชาหรือไม่มีแรง ตามใบหน้า แขน ขา ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย

2. พูดไม่ได้ชั่วขณะ หรือลำบากในการพยายามพูด

3. ตาข้างใดข้างหนึ่งพร่ามัวไปชั่วขณะ

4. เวียนศีรษะโดยไม่มีสาเหตุหรือทรงตัวไม่ได้

โรคหลอดเลือดในสมองป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงและควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังนี้ คือ

1. การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง โดยรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและมีปริมาณเพียงพอ ลดอาหารเค็มหรือเกลือ ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดแข็งได้ รับประทานอาหารที่มี กากใยสูงเป็นประจำ เช่น ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมากโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว เช่น มันหมู มันไก่ ไข่แดง และกะทิมะพร้าว รวมทั้งอาหารที่หวานจัดต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงได้

2. งดสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่มีสารนิโคติน ซึ่งสารนี้จะทำให้หัวใจเต้นเร็วหลอดเลือดหดตัว ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้วจะทำให้ เกิดอันตรายได้

3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะช่วยคลายเครียด ลดไขมัน และลดความดันโลหิตนอกจากนี้ยังทำให้ สุขภาพแข็งแรงอีกด้วย

4. การควบคุมน้ำหนัก ความอ้วนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้หลายอย่าง เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันสูง และทำให้เกิดโรคเบาหวานได้

5. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

6. ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากพบว่าท่านป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ