PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

40 10โรคร้ายที่น่ากลัว...(โรคที่1 ถึงโรคที่6)

1. โรคเบาหวาน

หมายถึง ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างหรือใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสมกับ ความต้องการของร่างกาย โดยปกติอินซูลิน มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานของร่างกาย สาเหตุที่แท้จริงของโรคเบาหวานยังไม่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้คือ พันธุกรรม และแบบแผนการดำเนินชีวิต ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจเสี่ยงต่อการเกิด โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ตาบอด หรือมีการทำลายของเส้นประสาท

อาการ:

ปัสสาวะจะบ่อยมากขึ้นถ้าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า 180 ม.ก.% โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลจึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา ผู้ป่วยจะกินเก่งหิวเก่งแต่น้ำหนักจะลดลง อาการอื่นๆที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน เห็นภาพไม่ชัด ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขา อาเจียน

สาเหตุ:

ยังไม่ทราบแน่นอน แต่องค์ประกอบสำคัญที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดได้แก่ กรรมพันธุ์ อ้วน ขาดการออกกำลังกาย หากบุคคลใดมีปัจจัยเสี่ยงมากย่อมมีโอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากขึ้น

คำแนะนำ:

1. รับประทานอาหารให้ถูกต้องตามที่กำหนดให้ และรู้จักวิธีใช้อาหารที่สามารถทดแทนกันได้

2. ใช้อินซูลิน หรือยาเม็ดให้ถูกต้องตามเวลา

3. ระวังรักษาสุขภาพอย่าตรากตรำเกินไป

4. รักษาร่างกายให้สะอาด และระวังอย่าให้เกิดบาดแผล

5. หมั่นตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ

6. ออกกำลังกายแต่พอควรสม่ำเสมอ

7. ถ้ามีอาการอ่อนเพลีย ตกใจ หวิวใจสั่น เหงื่อออก หรือมีอาการปวดศีรษะตามัว ให้รับประทานน้ำหวานหรือน้ำตาลทันที ทั้งนี้เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เพียงพอกับยา แต่ถ้าได้รับประทานอาหารที่น้ำตาลมากเกินไปและได้อินซูลินหรือยาน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการง่วงผิวหนังร้อนผ่าว คลื่นไส้ อาเจียน หายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้ ถ้าทิ้งไว้อาจทำให้ไม่รู้สึกตัว ต้องรีบตามแพทย์ทันที

8. ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรมีบัตรบ่งชี้ว่าเป็นเบาหวาน และกำลังรักษาด้วยยาชนิดใดอยู่เสมอ และควรมีขนมติดตัวไว้ด้วย

9. อย่าปล่อยตัวให้อ้วนเพราะ 80% ของผู้ป่วยโรคนี้เกิดจากการอ้วนมาก่อน

10. อย่าวิตกกังวลหรือเครียดมากเกินไป

11. เบาหวานเป็นกรรมพันธุ์ได้ หากสงสัยว่าเป็นเบาหวานควรได้รับการตรวจเลือดจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

12. ต้องระมัดระวัง เมื่ออายุเกิน 40 ปี ควรตรวจเลือดดูเบาหวานทุกปีเพราะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่าย


2. โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ หรือโรคแพ้ (Allergy) หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการไวผิดปกติต่อสิ่งซึ่งสามารถก่อให้เกิดภูมิแพ้ (Allergen) ซึ่งธรรมชาติสารเหล่านี้อาจไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้กับคนปกติทั่วไป

โรคภูมิแพ้เกิดได้ทุกเพศทุกวัย เด็กอายุ 5 ถึง 15 ปี มักพบว่าเป็นบ่อยกว่าช่วงอายุอื่นๆ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่โรคแสดงออกหลังจากได้รับ “สิ่งกระตุ้น” มานานเพียงพอ อย่างไรก็ตามบางคน อาจเริ่มเป็นโรคภูมิแพ้ตอนเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้

โรคภูมิแพ้นั้นมิใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากรุ่นคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย คุณพ่อคุณแม่ มาสู่ลูกหลานได้ อาจพบว่าในครอบครัวนั้นมีสมาชิกป่วยเป็นโรคภูมิแพ้หลายคน

ตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เรียกกว่า สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) หรือ สิ่งกระตุ้น ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ การรับประทานอาหาร การสัมผัสทางผิวหนัง ทางตา ทางหู ทางจมูก หรือโดยการฉีดหรือถูกกัดต่อยผ่านผิวหนัง ตัวการที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้มีอยู่รอบตัว สามารถกระตุ้นอวัยวะต่างๆ จนก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น

ทางลมหายใจ: ถ้าสิ่งกระตุ้นผ่านเข้ามาทางลมหายใจ ตั้งแต่รูจมูกลงไปยังปอด ก็จะทำให้เป็นหวัด คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันคอ เจ็บคอ ไอ มีเสมหะ เสียงแหบแห้ง และลงไปยังหลอดลม ทำให้หลอดลมตีบตัน เป็นหอบหืด

ทางผิวหนัง: ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางผิวหนัง จะทำให้เกิดผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย

ทางอาหาร: ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางอาหาร จะทำให้ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด เสียไข่ขาวในเลือด อาจทำให้เกิดอาการทางระบบอื่นๆได้ เช่น ลมพิษ หน้าตาบวม

ทางตา: ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางตา จะทำให้เกิดอาการแสบตา คันตา หนังตาบวม น้ำตาไหล

สารก่อภูมิแพ้ซึ่งเป็น “ตัวการ” ของโรคภูมิแพ้ ที่มักพบบ่อยๆ ได้แก่

ฝุ่นบ้าน ตัวไรฝุ่นบ้าน: มักปะปนอยู่ในฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 ม.ม. มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

เชื้อรา: มักปะปนอยู่ในบรรยากาศ ตามห้องที่มีลักษณะอับชื้น

อาหารบางประเภท: อาหารบางอย่างจะเป็นตัวการของโรคภูมิแพ้ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวก อาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา อาหารอีกจำพวกที่พบได้บ่อยคือ แมงดาทะเล ปลาหมึก อาจทำให้เกิดลมพิษผื่นคันได้บ่อยๆ เด็กบางคนอาจแพ้ไข่แมงดาทะเลอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้มีอาการบวมตามตัว หายใจไม่ออก เป็นต้น

อาหารประเภทหมักดอง เช่น ผักกาดดอง เต้าเจี้ยว น้ำปลา เป็นต้น เด็กบางคนอาจแพ้เห็ดซึ่งจัดว่าเป็นราขนาดใหญ่

เด็กบางคนแพ้ไข่ขาว อาจทำให้เกิดอาการผื่นคันบนใบหน้าได้ บางคนอาจจะแพ้ผลไม้จำพวกที่มีรสเปรี้ยวจัด กลิ่นฉุนจัด เช่น ทุเรียน ลำใจ สตรอเบอรี่ กล้วยหอม และอื่นๆ

ยาแก้อักเสบ: ยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อยๆนั้นได้แก่ ยาปฏิชีวนะ พวกเพนนิซฺลิน เตตราไวคลิน นอกจากนั้นยังมีพวกซัลฟา ยาลดไข้แก้ปวดพวกแอสไพริน ไดไพโรน ยาระงับปวดข้อปวดกระดูก อาจทำให้เกิดลมพิษผื่นคันของผิวหน้า พวกเซรุ่มหรือวัคซีนเป็นกันโรค โดยเฉพาะวัคซีนสกัดจากเลือดม้า เช่น เซรุ่มต้านพิษงู แพ้พิษสุนัขบ้า เป็นต้น

แมลงต่างๆ: แมลงที่มักอาศัยอยู่ภายในบ้าน เช่น แมลงสาบ แมงมุม มด ยุง ปลวก และแมลงที่อาศัยอยู่นอกบ้าน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ มดนานาชนิด เป็นต้น

เกสรดอกหญ้า ดอกไม้ ตอกข้าว วัชพืช: สิ่งเหล่านี้มักปลิวอยู่ในอากาศตามกระแสลม ซึ่งสามารถพัดลอยไปได้ไกลๆ หรืออาจเป็นลักษณะขุยๆติดตามมุ้งลวดหน้าต่าง เกสรดอกหญ้าที่ปลิวมาตามสายลม

ขนสัตว์: ขนของสัตว์เลี้ยงเป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ เช่น ขนแมว ขนสุนัข ขนนก ขนเป็ด ขนไก่ ขนกระต่าง ขนนกหรือขนเป็ด ขนไก่ที่ตากแห้งใช้ยัดที่นอนและหมอน สำหรับนุ่น ฟองน้ำ ยางพารา ใยมะพร้าว เมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานานก็จะสามารถเป็นสารก่อภูมิแพ้ได้เช่นกัน

โรคภูมิแพ้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกระบบของร่างกาย บางคนอาจมีอาการภูมิแพ้ในระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบ โรคภูมิแพ้นั้นเป็นโรคที่สามารถพิสูจน์หาสาเหตุของโรคและสามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยบางคนเริ่มจากอาการแพ้อากาศเรื้อรัง เยื่อจมูกอักเสบ เมื่อไม่ได้ใส่ใจรักษา ต่อมาอาจกลายเป็นโรคหอบหืด โรคผื่นคันผิวหนัง เช่น เป็นลมพิษ ปวดศีรษะเรื้อรัง โรคอ่อนเพลียต่างๆ เป็นต้น

บางคนเชื่อว่า ถ้าเด็กเป็นโรคหอบหืดตั้งแต่เล็กพอโตขึ้นอาจหายไปเองได้และไม่จำเป็นต้องรักษาอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะโรคนี้อาจทำให้เด็กเจริญเติบโตช้า การปรับตัวเข้ากับสังคมเพื่อนๆและสภาพแวดล้อมได้ไม่ดี เกิดปมด้อย เจ้าตัวเล็กอาจขาดความมั่นใน ส่วนเด็กที่แพ้อากาศ ถ้าไม่รักษาต่อมาก็อาจกลายเป็นโรคหอบหืดที่มีอาการของโรคแรงขึ้นเรื่อยๆได้

หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าเจ้าตัวเล็กนั้นเป็นโรคภูมิแพ้ ควรจะพาไปปรึกษาแพทย์ เพื่อหาว่าเด็กแพ้อะไรบ้าง การดูแลรักษาในเบื้องต้นนั้นทำได้โดยการพยายามหลีกเลี่ยงสารที่แพ้ ซึ่งจะทำให้อาการของโรคนั้นลดลงหรือหมดไปได้


3. โรคเกาต์

เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ที่มีอาการปวดข้อเรื้อรัง พบได้ไม่น้อย พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า ส่วนมากจะพบในผู้ชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงพบได้น้อย ถ้าพบมักจะเป็นหลังวัยหมดประจำเดือน เป็นโรคที่มีทางรักษาให้หายได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้

อาการ:

มีอาการปวดข้อรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันที ข้อจะบวมและเจ็บมากจนเดินไม่ไหว ผิวหนังในบริเวณนั้นจะตึง ร้อนและแดง จากนั้นผิวหนังในบริเวณที่ปวดจะลอกและคัน มักมีอาการปวดตอนกลางคืน และมักจะเป็นหลังดื่มเหล้าหรือเบียร์ (ทำให้ไตขับกรดยูริกได้น้อยลง)

ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา ในระยะแรกๆ อาจกำเริบทุก 1-2 ปี โดยเป็นที่ข้อเดิม แต่ต่อมาจะเป็นถี่ขึ้นเรื่อยๆ เช่น ทุก 4-6 เดือน แล้วเป็นทุก 2-3 เดือน จนกระทั่งทุกเดือน หรือเดือนละหลายครั้งและระยะการปวดจะนานวันขึ้นเรื่อยๆ เช่น กลายเป็น 7-14 วัน จนกระทั่งหลายสัปดาห์หรือปวดตลอดเวลา ส่วนข้อที่ปวดก็จะเพิ่มจากข้อเดียวเป็น 2-3 ข้อ (เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อเท้า นิ้วมือนิ้วเท้า) จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อ

ในระยะหลัง เมื่อข้ออักเสบหลายข้อ ผู้ป่วยมักสังเกตว่ามีปุ่มก้อนขึ้นที่บริเวณที่เคยอักเสบบ่อยๆ เช่น ข้อนิ้วเท้า ข้อนิ้วมือ ข้อศอก ข้อเข่า รวมทั้งที่หูเรียกว่า ตุ่มโทฟัส (tophus/tophi) ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของสารยูริก ปุ่มก้อนนี้จะโตขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งแตกออกมีสารขาวๆคล้ายชอล์กหรือยาสีฟันไหลออกมา กลายเป็นแผลเรื้อรัง หายช้า ในที่สุดข้อต่างๆจะค่อยๆพิการและใช้งานไม่ได้

สาเหตุ:

เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้มีกรดยูริกคั่งอยู่ในร่างกายมากผิดปกติ ซึ่งจะตกผลึกสะสมอยู่ตาม ข้อ ผิวหนัง ไตและอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน และอาจมีสาเหตุจากร่างกายมีการสลายตัวของเซลล์มากเกินไป เช่น โรคทาลัสซีเมีย, มะเร็งในเม็ดเลือดขาว, การใช้ยารักษามะเร็งหรือฉายรังสี เป็นต้น หรือ อาจเกิดจากไตขับกรดยูริกได้น้อยลงเช่น ภาวะไตวาย ตะกั่วเป็นพิษ, ผลจากการใช้ยาไทอาไซด์ เป็นต้น

คำแนะนำ:

1. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ ช่วยป้องกันการสะสมผลึกกรดยูริกซึ่งอาจทำให้เกิดนิ่วในไต

2. ควรกินผัก ผลไม้มากขึ้น เช่น ส้ม กล้วย องุ่น ซึ่งจะช่วยให้ปัสสาวะมีภาวะเป็นด่าง และกรดยูริกถูกขับออกมากขึ้น

3. ควรทานผักใบเขียวที่มีธาตุเหล็กสูง เพื่อทดแทนธาตุเหล็กที่ขาดเนื่องจากการงดทานเนื้อสัตว์

4. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

5. งดอาหารที่มีสารพิวรินสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ น้ำซุปเนื้อสัตว์ กุ้ง หอย ปู ปลาซาร์ดีน กะปิ ซึ่งจะทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น

6. ควรจำกัดอาหารที่มีไขมันสูง เพราะอาจกระตุ้นให้อาการกำเริบได้ ควรงดเครื่องดื่มพวกโกโก ช็อกโกแลต ควรทานนมพร่องมันเนย

7. ยาบางชนิดอาจมีผลต่อการรักษาโรคนี้ เช่น แอสไพริน หรือยาขับปัสสาวะ ไทอาไซด์ อาจทำให้ร่างกายขับกรดยูริกได้น้อยลง ดังนั้นจึงไม่ควรซื้อยากินเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนจะใช้ยา


4. โรคไมเกรน

เป็นโรคที่เกิดจากการบีบตัว และคลายตัวของหลอดเลือดในสมองมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัว หรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย พบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี โดยเฉพาะผู้หญิง มักเป็นมากกว่าผู้ชาย

อาการ:

1. ปวดศีรษะครึ่งซีก อาจเป็นบริเวณขมับหรือท้ายทอยแต่บางครั้งก็อาจเป็นสองข้างพร้อมกันหรือสลับข้างกันได้

2. ลักษณะการปวดศีรษะส่วนมากมักจะปวดตุ๊บๆ นานครั้งหนึ่งเกิน 20 นาที ผู้ป่วยบางรายอาจมีปวดตื้อๆ สลับกับปวดตุ๊บๆ ในสมองก็ได้

3. อาการปวดศีรษะมักเป็นรุนแรง และส่วนมากจะคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยเสมอ โดยอาจเป็นขณะปวดศีรษะก่อนหรือหลังปวดศีรษะก็ได้

4. อาการนำจะเป็นอาการทางสายตาโดยจะมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะราว 10-20 นาที เช่น เห็นแสงเป็นเส้นๆระยิบระยับ แสงจ้าสะท้อน หรือเห็นภาพบิดเบี้ยวก่อนปวด

สาเหตุ:

1. สาเหตุที่อยู่ภายในร่างกาย เช่น พันธุกรรม ความเครียด สาเหตุเหล่านี้ไม่สามารถจะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้

2. สาเหตุที่มาจากภายนอกร่างกาย สามารถที่จะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ เป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้เกิดโรคขึ้น ได้แก่ อดนอน หรือการทำงานหนักมากเกินไป ขาดการพักผ่อน หรือมีความเครียด การดื่มเหล้า กาแฟ ยาคุมกำเนิด (บางคนเป็น และเมื่อหยุดยาคุม ก็จะลดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้) อาหารบางชนิดจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเคมีในสมอง เพื่อกระตุ้นเส้นเลือดในสมองหดตัว และขยายตัว ทำให้มีอาการปวดหัวได้ อาหารเหล่านี้ ได้แก่ กล้วยหอม ช็อกโกแลต เนยแข็ง เบียร์ ไวน์

คำแนะนำ:

1. การนอนไม่พอ การอดนอน

2. การดื่มสุรามากเกินไป จะทำให้ปวดไมเกรนมากขึ้น แต่ถ้าปวดศีรษะแบบตึงเครียด อาการปวดจะบรรเทาลงด้วยการดื่มเหล้า

3. การตรากตรำทำงานมากเกินไป ทำให้ต้องอดอาหารบางมื้อ รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ อาการปวดศีรษะไมเกรนจะเป็นได้ง่ายขึ้น

4. การตื่นเต้นมากๆ โดยเฉพาะในเด็กที่ไปงานเลี้ยง

5. การเล่นกีฬาที่หักโหมจนเหนื่อยอ่อน แต่ถ้าเล่นกีฬาเบาๆ จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย

6. การมองแสงที่มีความจ้ามากๆ เช่น แสงอาทิตย์ที่รุนแรง แสงที่กระพริบมากๆ เช่น ไฟนีออนที่เสีย หรือแสงระยิบระยับในดิสโก้เทค

7. เสียงดัง

8. กลิ่นน้ำหอมบางชนิด กลิ่นซิการ์ กลิ่นสารเคมีบางอย่าง กลิ่นท่อไอเสียรถยนต์

9. อาหารบางชนิด

10. อากาศร้อนจัด อากาศเย็นจัด

11. ในระหว่างที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน ควรจะนอนพักผ่อนในห้องที่เงียบ รับประทานยาแก้ปวดธรรมดา ถ้ามียานอนหลับก็รับประทานยาให้ หลับ หรือกดเส้นเลือดที่กำลังเต้นอยู่ที่ขมับข้างที่ปวดศีรษะ ก็จะช่วยลดอาการปวดศีรษะได้ หรืออาจจะใช้น้ำแข็งประคบ


5. โรคสมองเสื่อม (DEMENTIA)

โรคสมองเสื่อม (DEMENTIA ) เป็นคำที่เรียกใช้กลุ่มอาการต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการทำงานของสมองที่เสื่อมลง อาการที่พบได้บ่อย คือ ในด้านที่เกี่ยวกับความจำ การใช้ความคิด และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นอกจากนี้ยังพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพร่วมด้วยได้ เช่น หงุดหงิดง่าย เฉื่อยชา หรือเมินเฉย เป็นต้น การเสื่อมของสมองนี้ จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆ ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผลกระทบต่อ การดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านอาชีพการงาน และชีวิตส่วนตัว

โรคสมองเสื่อมไม่ใช่ภาวะปกติของคนที่มีอายุ ในบางครั้งเวลาที่เรามีอายุมากขึ้น เราอาจมีอาการหลงๆลืมๆได้บ้าง แต่อาการหลงลืมในโรคสมองเสื่อมนั้น จะมีลักษณะที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ อาการหลงลืมจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่เพียงแต่จำรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้เท่านั้น คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะจำเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้เลย รวมทั้งสิ่งที่ตัวเองกระทำเองลงไปด้วย และถ้าเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ คนผู้นั้นอาจจำไม่ได้ว่าใส่เสื้ออย่างไร อาบน้ำอย่างไร หรือแม้กระทั่งไม่สามารถพูดได้เป็นประโยค

อะไรคือสาเหตุของโรคสมองเสื่อม

อาการต่างๆ ของโรคสมองเสื่อมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) นั้นเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม ส่วนโรคสมองเสื่อมจากเส้นเลือดในสมอง (Vascular dementia) นั้น เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยรองลงมา นอกจากนี้สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมที่พบได้ คือ โรค Parkinson , Frontal Lobe Dementia , จาก alcohol และจาก AIDS เป็นต้น

ใครจะป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมได้บ้าง

โรคสมองเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศและทุกวัย แต่จะพบได้น้อยมากในคนที่อายุน้อยกว่า 40 ปี ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในคนสูงอายุ แต่พึงตระหนักไว้ว่า โรคสมองเสื่อมนั้นไม่ใช่สภาวะปกติของ ผู้ที่มีอายุมาก เพียงแต่เมื่ออายุมากขึ้น ก็มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคได้มากขึ้น โดยคร่าวๆนั้นประมาณ 1 ใน 1000 ของคนที่อายุน้อยกว่า 65 ปี จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้ ประมาณ 1 ใน 70 ของคนที่อายุระหว่าง 65-70 ปี 1 ใน 25 ของคนที่มีอายุระหว่าง 70-80 ปี และ 1 ใน 5 ของคนที่มีอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมนี้ได้ โดยประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมนั้น มีสาเหตุมาจากโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease)

ความสำคัญในการตรวจร่างกาย

เนื่องจากสาเหตุของโรคสมองเสื่อมนั้น มีมากมายหลายสาเหตุ ดังนั้นการพบแพทย์เพื่อรับการปรึกษา และตรวจร่างกาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากจะทำให้ทราบว่า เราป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่แล้ว ยังทำให้พอทราบได้ว่า สาเหตุนั้นมาจากอะไร ซึ่งจะมีผลต่อแนวทางการรักษาต่อไป



6. โรคมะเร็ง

มะเร็งคือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะ ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ เจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศชาย 10 อันดับแรก คือ

มะเร็งตับ 8,189 ราย

มะเร็งปอด 5,500 ราย

มะเร็งลำไส้ใหญ่ 2,191 ราย

มะเร็ง ช่องปาก 1,094 ราย

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 1,057 ราย

มะเร็งกระเพาะอาหาร 1,041 ราย

มะเร็ง เม็ดเลือดขาว 891 ราย

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง 881 ราย

มะเร็งหลังโพรงจมูก 855 ราย

มะเร็งหลอดอาหาร 748 ราย

โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง 10 อันดับแรก

มะเร็งปากมดลูก 5,462 ราย

มะเร็งเต้านม 4,223 ราย

มะเร็งตับ 3,679 ราย

มะเร็งปอด 2,608 ราย

มะเร็งลำไส้ใหญ่ 1,789 ราย

มะเร็งรังไข่ 1,252 ราย

มะเร็งช่องปาก 953 ราย

มะเร็งต่อมธัยรอยด์ 885 ราย

มะเร็งกระเพาะอาหาร 723 ราย

มะเร็งคอมดลูก 703 ราย

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ คือ

1. เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อกันว่ามะเร็งส่วนใหญ่ เกิดจากสาเหตุได้แก่สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น สารพิษจาก เชื้อรา ที่มีชื่ออัลฟาทอกซิน (Alfatoxin) สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน (Hydrocarbon) สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหาร ชื่อไนโตรซามิน (Nitosamine) สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า รังสีเอ็กซเรย์ อุลตราไวโอเลตจากแสงแดด เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา เป็นต้น

2. เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งมีเป็นส่วนน้อย เช่น เด็กที่มีความ พิการ มาแต่ กำเนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น การมีภูมิคุ้มกันที่บกพร่องและภาวะ ทุพโภชนาการ เช่น การขาดไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามินเอ ซี เป็นต้น

จะเห็นว่า มะเร็งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้น มะเร็งก็น่าจะเป็นโรคที่สามารถ ป้องกันได้ เช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่นๆ (Hill R.P,Tannock IF,1987) ถ้าประชาชนมี ความรู้เกี่ยวกับสาร ก่อมะเร็ง และสารช่วยหรือให้เกิดมะเร็งที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้ว พยายาม หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเหล่านั้น เช่น งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงจากบริเวณ ที่มีควันบุหรี่ เป็นต้น

สำหรับสาเหตุภายในร่างกายนั้นการป้องกันคงไม่ได้ผลแต่ทำให้ทราบว่า ตนเองจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูงหรือมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ดังนั้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้เรื่องมะเร็งต่อไป กรณีที่เป็นมะเร็งได้ตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะมีการตอบสนองต่อการ รักษาค่อนข้างดี

อาการ:

1. ไม่มีอาการใดเลยในช่วงแรกขณะที่ร่างกายมีเซลล์มะเร็งเป็นจำนวนน้อย

2. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่เป็นสัญญาณเตือนว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจค้นหาโรคมะเร็ง หรือสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้มีสัญญาณเหล่านี้ เพื่อการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์ที่ถูกต้อง ก่อนที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งระยะลุกลาม

3. มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกาย ทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส

4. มีอาการที่บ่งบอกว่า มะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม หรือเป็นมาก ขึ้นอยู่กับว่าเป็น มะเร็งชนิดใดและมีการกระจายของโรคอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายที่สำคัญที่สุด ของอาการในกลุ่ม นี้ ได้แก่ อาการเจ็บปวด ที่แสนทุกข์ทรมาน

คำแนะนำ:

1. รับประทานผักตระกูลกะหล่ำให้มาก เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บรอคโคลี่ ฯลฯ

2. รับประทานอาหารที่มีกากมากเช่น ผัก ผลไม้ ข้าว ข้าวโพด และเมล็ดธัญพืชอื่นๆ

3. รับประทานอาหารที่มีเบต้า- แคโรทีน และ ไวตามินเอ สูงเช่น ผัก ผลไม้สีเขียว-เหลือง

4. รับประทานอาหารที่มีไวตามินซีสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่างๆ

5. ควบคุมน้ำหนักตัว

6. ไม่รับประทานอาหารที่มีราขึ้น

7. ลดอาหารไขมัน

8. ลดอาหารดองเค็ม อาหารปิ้ง-ย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือไนเตรท-ไนไตร์ท

9. ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ เช่น ก้อยปลา ปลาจ่อม ฯลฯ

10. หยุดหรือลดการสูบบุหรี่

11. ลดการดื่มแอลกอฮอล์

12. อย่าตากแดดจัดมากเกินไป จะเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งผิวหนัง

มีต่อ...(โรคที่7 ถึงโรคที่10)