PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

05 จอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน


จอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน

เบาหวานเกิดจากความบกพร่องของร่างกายในการเผาผลาญและสะสมน้ำตาล ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาจมีผลทำให้สายตามัว เพราะกำลังสายตาเปลี่ยนไปตามระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ ในระยะยาวขนาดของหลอดเลือดขนาดเล็กจะมีการเปลี่ยนแปลงทั่วร่างกาย รวมถึงเส้นเลือกในลูกตาซึ่งมีผลกระทบต่อนัยน์ตา ที่สำคัญคือ ภาวะจอประสาทตาเสื่อมและต้อหินซึ่งทำให้ตาบอดได้ในที่สุด นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวานยังมีโอกาสเป็นต้อกระจกได้เร็วกว่าคนปกติเนื่องจากมีน้ำตาลในเลือดมากเกินไป

อะไรคือสาเหตุ :

สาเหตุที่แท้จริงไม่สามารถสรุปได้ คาดว่าโรคเบาหวานจะไปทำลายหลอดเลือดขนาดเล็กที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงจอประสาทตา สตรีมีครรภ์และผู้ที่เป็นโรคความดันสูงร่วมกับเบาหวาน จอประสาทตาอาจเสื่อมเร็วและรุนแรงกว่าผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานเพียงโรคเดียว

อาการเป็นอย่างไร :

สายตาจะค่อยๆพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจน แม้ว่าโรคดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด แต่ผู้ป่วยควรจะรีบไปพบจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที เพราะเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตาบอดได้หากรักษาไม่ถูกต้องหรือรักษาช้าเกินไป

รักษาได้อย่างไร :

เมื่อจักษุแพทย์พบว่าคนไข้มีอาการของโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ก่อนที่จะทำการรักษาจักษุแพทย์จะพิจารณาถึงอายุ ประวัติการรักษาโรคเบาหวานและวิธีการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย ตลอดจนความรุนแรงของโรคที่จอประสาทตา ณ ปัจจุบัน ซึ่งในกรณีถ้าอาการของคนไข้ยังเป็นไม่มาก อาจเพียงติดตามดูอาการเป็นระยะๆ และให้คนไข้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดตามขึ้นตอนของการรักษาโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นวิธีการประคับประคองไม่ให้อาการเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเป็นมากขึ้นกว่าเดิม แต่ถ้าในกรณีที่คนไข้มีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น มีการรั่วซึมของเลือดหรือน้ำเหลืองจากเส้นเลือดที่ผิดปกติที่จอประสาทตาจนทำให้จุดรับภาพบวม ซึ่งจะต้องทำการฉีดยาลดอาการบวม และยิงเลเซอร์เพื่อห้ามการไหลซึมของเลือดหรือน้ำเหลืองที่ออกจากเส้นเลือดดังกล่าว เป็นต้น ทั้งนี้ จักษุแพทย์จะทำการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการที่เกิดขึ้นตามดุลยพินิจ