PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

18 เรื่องตา...ดูแลไว้ตั้งแต่วัยนี้


เรื่องตา...ดูแลไว้ตั้งแต่วัยนี้

ตั้งแต่ลูกน้อยคลอดออกมา สิ่งที่คุณแม่ต้องสนใจแน่ๆ ก็คือ อยากเห็นลูกรักมีอวัยวะครบ 32 โดยเฉพาะดวงตา ที่เรียกว่าเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย แต่สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ หลังจากคุณแม่ได้ดีใจกับลูกน้อยที่สมบูรณ์ มีดวงตากลมโตน่ารักแล้ว ก็มักจะลืมเรื่องการให้ความสนใจกับดวงตาอย่างจริงๆจังๆ เพราะคิดว่า แค่ลูกมองเห็น ก็แสดงว่าเค้ามีดวงตาที่ปกติแล้ว ซึ่งความคิดนี้ไม่ถือว่าถูกซะทีเดียว เพราะปัญหาเรื่องดวงตา จริงๆแล้ว มีมากกว่าแค่ใช้มองเห็นได้หรือมองเห็นไม่ได้

108 ปัญหาดวงตาที่อาจเกิดขึ้น

1. ความผิดปกติของหนังตา เช่น หนังตาตก

2. ขนาดของลูกตาผิดปกติ เช่น ลูกตาเล็กเกินไป

3. พวกต้อต่างๆ เช่น ต้อหิน ต้อกระจก

4. เนื้องอกของลูกตา

5. จอรับภาพและประสาทตาผิดปกติ ซึ่งอาการนี้มักพบในทารกที่คลอดก่อนกำหนด

6. ตาเหล่

7. สายตาผิดปกติต่างๆ เช่น สวยตาสั้น สายตายาว ตาเอียง

สังเกตว่า ปัญหาดวงตาเหล่านี้ บางอย่าง ก็สามารถมองเห็นได้จากภายนอก ด้วยการมองด้วยตาเปล่า แต่อาการผิดปกติบางอย่าง ดูภายนอกก็อาจเหมือนลูกมีสายตาปกติ ดังนั้นคุณแม่จึงควรใส่ใจ พาหนูไปตรวจดวงตาด้วย

ตรวจสายตาครั้งแรก ควรเริ่มตั้งแต่ 6 เดือน

ข้อมูลจาก American Optometric Association (AOA) แนะนำว่า การตรวจสายตาทารกครั้งแรกในช่วง 6 เดือนความสำคัญมาก เพราะโรคเกี่ยวกับดวงตาส่วนใหญ่ สามารถตรวจพบ และรักษาอาการผิดปกติของดวงตาได้

หากว่าได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ แต่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักมองข้ามการตรวจดวงตาของลูกในระยะนี้ อาการผิดปกติจึงถูกปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะตรวจพบช้า ทำให้อาการผิดปกติยิ่งลุกลามมากขึ้นและรักษาได้ยากขึ้นด้วย

โดยระยะเวลาในการตรวจดวงตาของลูกครั้งแรก ควรเริ่มเมื่อลูกอายุได้ราว 6 เดือน

ครั้งที่สองเมื่อลูกอายุได้ 3 ขวบ

และครั้งที่สาม คือก่อนเข้าโรงเรียน

ขนาดประเทศอเมริกา ซึ่งมีความเจริญด้านการแพทย์มาก ยังมีเด็กที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคตา เพราะไม่ได้รับการตรวจอย่างทันท่วงที ถึงราว 15 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 10 ล้านคน คุณแม่ที่รู้แล้ว ก็อย่าได้ประมาทกับโรคเกี่ยวกับตาเหมือนกัน

ผลเสียของการมีดวงตาที่ไม่ปกติ

แม้วัยนี้ลูกน้อยจะยังเด็กอยู่ แต่ปัญหาสายตา ก็มีผลเสียอย่างมากต่อเค้า นั่นคือการพัฒนาการจะเป็นไปอย่างไม่ปกติและไม่สมบูรณ์ เช่นหากว่าลูกสายตาสั้นหรือตาเหล่ สมองก็จะเรียนรู้ภาพที่ไม่ชัด ทำให้พัฒนาการของตาข้างนั้นผิดปกติ และยังส่งผลต่อพัฒนาการโดยรวมของลูกอีกด้วย เพราะเมื่อเค้ามองเห็นสิ่งต่างๆไม่ชัดเจน การเรียนรู้ก็ย่อมช้า ไปจนถึงหยุดชะงัก ปัญหาเหล่านี้ หากไม่ได้รับการแก้ไขก่อนอายุ 5 - 6 ปี พัฒนาการของลูกก็จะผิดปกติอย่างถาวร

หรือแม้ว่า อาการทางสายตาของลูก จะไม่ใช่อาการผิดปกติใหญ่โต แต่เมื่อเค้าโตขึ้น การมองเห็นไม่ชัดก็จะส่งผลต่อความมั่นใจในตัวเองของเค้า เช่น ในโรงเรียน ซึ่งอาจจะทำให้เรียนไม่ทันเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนไม่ได้ก็เป็นได้

เรื่องของดวงตา เป็นเรื่องสำคัญตั้งแต่หนูยังเล็ก แต่เนื่องจากหนูยังพูดสื่อสารกับคุณแม่ไม่ได้ คุณแม่จึงควรสังเกตอาการทางดวงตาของหนูอยู่เสมอ และพาไปตรวจเช็คตามเวลา เป็นการให้ความสำคัญกับดวงตาของหนูตั้งแต่เริ่มต้น นำไปสู่พัฒนาการที่สมบูรณ์ในช่วงวัยต่อๆไป



คลิกที่นี่...ภาพสวยๆงามๆหาดูยากมาก...

*