PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

44 น้ำวุ้นตาเสื่อม Vitreous degeneration


น้ำวุ้นตาเสื่อม Vitreous degeneration

น้ำวุ้นตา เป็นสารใสคล้ายเจลบรรจุอยู่ภายในลูกตาส่วนหลัง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้แสงผ่าน ให้สารอาหารแก่จอประสาทตาและเซลผนังลูกตาชั้นใน และเป็นตัวพยุงลูกตาให้คงรูปเป็นทรงกลมอยู่ได้

ถ้ามีภาวะใดก็ตามที่ทำให้บางส่วนของน้ำวุ้นตาขุ่นไป เราจะรู้สึกเห็นเหมือนมีเงาลอยไปมา อาจมีรูปร่างแตกต่างกันได้หลายแบบ เช่น เป็นจุดเล็กๆคล้ายลูกน้ำ เป็นวงกลม หรือเป็นเส้น จะรู้สึกและสังเกตได้ง่ายขึ้นเวลามองไปยังพื้นผิวที่เรียบและเป็นสีอ่อน เช่น ผนังห้อง กระดาษสีขาว หรือท้องฟ้า ลักษณะอาการแบบนี้เราเรียกว่า floater

การเกิดน้ำวุ้นตาเสื่อมมีอันตรายหรือไม่

โดยทั่วไปเมื่อคนเราอายุมากขึ้นและเข้าสู่วัยกลางคน น้ำวุ้นตาจะมีการหดตัวและหนาตัวเป็นจุดหรือเป็นเส้นภายในลูกตา การหดตัวของน้ำวุ้นตานี้จะทำให้น้ำวุ้นตาแยกห่างออกจากจอประสาทตา รวมกันเป็นกลุ่มก้อนที่มีลักษณะทึบแสง ทำให้เห็นเป็นเงาเกิดขึ้น

ถ้าการหดตัวนี้มีแรงดึงมาก อาจเกิดการดึงรั้งจอประสาทตาจนเกิดการฉีกขาด หรือเส้นเลือดที่จอประสาทตาฉีกขาดจนมีเลือดออกในน้ำวุ้นตาได้ อาจมีการหลุดลอกของจอประสาทตาตามมา ทำให้การมองเห็นในตำแหน่งที่จอประสาทตาหลุดลอกมืดไป และถ้าทิ้งไว้นานจอประสาทตาบริเวณนั้นจะตาย ทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรและมักจะลุกลามจนทำให้ตาข้างนั้นบอดได้

ดังนั้นถ้ารู้สึกว่ามีอาการมองเห็นเงาลอยไปมา หรือ floater ควรพบจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจจอประสาทตาอย่างละเอียดว่า น้ำวุ้นตาที่เสื่อมนี้เป็นชนิดที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือไม่

ส่วนความรู้สึกที่มีเงาลอยไปมาจะค่อยๆลดลงไปเองเมื่อเวลาผ่านไป และก่อให้เกิดความรำคาญน้อยมาก แม้ว่าในบางคนอาจยังรู้สึกอยู่ได้นานเป็นปี ไม่จำเป็นต้องให้การรักษา

เนื่องจากภาวะน้ำวุ้นตาเสื่อมโดยลักษณะแล้วไม่ได้ถือว่าเป็นโรค แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงตามปรกติของร่างกายเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ซึ่งแตกต่างจากโรคจอประสาทตาเสื่อมที่ถือว่าเป็นโรคร้ายแรง

ควรพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจจอประสาทตา เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

1. รู้สึกว่ามีเงาดำ หรือ floater ใหม่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด

2. รู้สึกมีแสงสว่าง (flashing) คล้ายฟ้าแลบ หรือไฟแฟลชกล้องถ่ายรูปเกิดขึ้นในลูกตา

3. รู้สึกว่ามีลานสายตาผิดปรกติหรือแคบลง อาจเกิดจากมีจอประสาทตาฉีกขาดและหลุดลอก เพราะเวลาเกิดจอประสาทตาฉีกขาดจากการดึงรั้งของน้ำวุ้นตาจะเกิดที่บริเวณขอบจอประสาทตาก่อนเสมอ ทำให้ขอบภาพหายไป หรือมีลานสายตาแคบลง

เราสามารถตรวจเช็คลานสายตาได้ด้วยตนเอง โดยการใช้มือบังตาทีละข้าง ตาที่ทดสอบมองตรงไปข้างหน้า หาจุดมองที่สังเกตได้ในระยะ 3-4 เมตร ให้มองไปตรงๆตรงกลาง ตาไม่กลอก แล้วสังเกตว่าถ้าเรามองไปตรงๆโดยตาไม่กลอกไปมา เราจะมองเห็นขอบเขตของภาพได้กว้างไกลแค่ไหน

ขอบเขตของภาพที่เราสามารถมองเห็นได้นี้เรียกว่า ลานสายตา ถ้ามีการฉีกขาดและหลุดลอกของจอประสาทตา ขอบภาพจะมืดหายไป หรือเห็นภาพได้แคบลง ควรมองที่ตำแหน่งเดิมซ้ำทุกครั้ง เพื่อให้สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย

การรักษาจอประสาทตาฉีกขาดและหลุดลอก

ทำให้จอประสาทกลับติดไปเหมือนเดิม ซึ่งทำได้หลายวิธีขึ้นกับความรุนแรงของโรค ตำแหน่งที่ฉีกขาดและลักษณะของลูกตา เช่น

การฉายแสงเลเซอร์ที่ก่อความร้อน (photocoagulation)

การจี้ด้วยความเย็น (cryocoagulation) อาจร่วมกับการฉีดก๊าซเข้าในน้ำวุ้นตาเพื่อกดจอประสาทตาที่หลุดให้ราบ (pneumoretinoplexy) หรือทำการผ่าตัดหนุนผนังลูกตาจากด้านนอก (scleral buckling) หรือผ่าตัดน้ำวุ้นตา (vitrectomy)

การผ่าตัดรักษาจอประสาทตาที่หลุดลอกให้กลับติดเข้าที่ จะสามารถช่วยลดการสูญเสียการมองเห็น และทำให้การมองเห็นฟื้นตัวได้

แต่การมองเห็นหลังผ่าตัดจะดีมากหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของรอยโรค ระยะเวลาและตำแหน่งที่จอประสาทตาหลุดลอก สภาพเดิมของจอประสาทตา ตลอดจนสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยเองด้วย

แพทย์จึงไม่สามารถให้การยืนยันได้ว่าหลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมองเห็นขึ้นได้ดีแค่ไหน

แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็จะตาบอดในที่สุด



Vitreous degeneration

Most of the eye's interior is filled with vitreous, a gel-like substance that helps the eye maintain a round shape. There are millions of fine fibers intertwined within the vitreous that are attached to the surface of the retina, the eye's light-sensitive tissue. As we age, the vitreous slowly shrinks, and these fine fibers pull on the retinal surface. Usually the fibers break, allowing the vitreous to separate and shrink from the retina. This is a vitreous detachment. In most cases, a vitreous detachment is not sight-threatening and requires no treatment.

As the vitreous shrinks, it becomes somewhat stringy, and the strands can cast tiny shadows on the retina that you may notice as floaters, which appear as little "cobwebs" or specks that seem to float about in your field of vision. If you try to look at these shadows they appear to quickly dart out of the way. One symptom of a vitreous detachment is a small but sudden increase in the number of new floaters. This increase in floaters may be accompanied by flashes of light (lightning streaks) in your peripheral, or side, vision. In most cases, either you will not notice a vitreous detachment, or you will find it merely annoying because of the increase in floaters.

The vitreous gel is 99% water and 1% solid elements. Of the solid portion, there are collagen filaments and hyaluronic acid molecules. The ability of hyaluronic acid molecules to retain water molecules is an important factor in maintaining the gel consistency of vitreous. With age, there is a depolymerisation of hyaluronic acid, causing these molecules to release their water and form lacunae i.e. pockets of liquefied vitreous. The collagen 'filaments' aggregate to form larger 'fibrils', causing further collapse of the vitreous gel structure. This process is known as vitreous degeneration and 'syneresis'. The collagen fibrils may 'float' within the liquid vitreous pockets, giving the patient a sensation of floaters. The same process that causes floaters may cause flashes of light. When the vitreous pulls on the retina - to which it is attached - the photoreceptors are mechanically stimulated. The retinal cells are incapable of perceiving pain, pressure, or temperature. The only stimulus that the retina responds to is 'light'. So when the retinal photoreceptors experience mechanical stimulation because of the vitreous pull, they send a signal to the brain in the form of disorganized light, which is perceived by the brain as a 'flash'.

Eventually, with the accumulation of enough lacunae (liquified vitreous pockets), the vitreous framework collapses and the vitreous completely separates from the retina. This process is called posterior vitreous detachment. Tissue may tear from an area adjacent to or from the optic nerve head due to an acute posterior vitreous detachment. This tissue (called Weiss ring) is usually visible as a large floater. Posterior vitreous detachment occurs in less that 10% people under 50 years of age but in more than 60% people who are over 70 years of age. It is more common for people who are nearsighted or who have had an eye injury or have undergone eye surgery or who have had inflammation inside the eye. B-scan ultrasound examination is the only method that can definitively diagnose posterior vitreous detachment.

The reason why you are advised not to ignore symptoms of sudden increase in the number of floaters or flashes of light especially if accompanied by subjective reduction in vision (cloud or curtain in vision) is that these symptoms signify an acute posterior vitreous detachment. There could be an associated retinal tear which can lead to a retinal detachment. Therefore you should have an immediate eye examination to rule out any retinal involvement.