PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

35 ตามองเห็นได้อย่างไร?


ตามองเห็นได้อย่างไร?

การที่เรามองเห็นวัตถุต่างๆได้นั้น เกิดขึ้นจากการที่แสงเดินทางไปกระทบวัตถุแล้วสะท้อนภาพเข้ามาที่ตาของเรา ภาพจะผ่านรูม่านตาไปยังเลนส์ตา ซึ่งทำหน้าที่รวมแสงและจะฉายภาพต่อไปยัง จอตาหรือเรตินา (Retina) ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังของลูกตา (Eye ball) ที่จอตาจะมีเส้นประสาทตาอยู่มากมาย จอตาจะทำหน้าที่สำคัญคือเปลี่ยนข้อมูลภาพที่ตามองเห็น ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าและส่งสัญญาณนั้นผ่านเส้นประสาทไปยังสมอง เพื่อให้สมองตีความออกมาว่าเราเห็นภาพอะไร

อธิบายเพิ่ม:

รูม่านตาเป็นรูในดวงตาของเราที่ยอมให้แสงผ่านเข้าไปได้ แสงจะเดินทางผ่านรูม่านตาทำให้เรามองเห็น รูม่านตาสามารถปิด เปิดได้เพื่อป้องกันไม่ให้แสงเข้าตามากเกินไป

เมื่อมีแสงมากเกินไปรูม่านตาจะมีขนาดเล็กลง เพื่อให้แสงเข้าได้น้อยลง ส่วนเวลาที่ไม่ค่อยมีแสง รูม่านตาจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้แสงสามารถเข้ามาได้มากขึ้น รอบๆ รูม่านตาเป็นส่วนที่มีสีเรียกว่าม่านตา ม่านตาคือส่วนที่จะทำหน้าที่ปิด เปิดเพื่อให้รูม่านตามีขนาดใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง เลนส์ตาเป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังรูม่านตา ทำหน้าที่รวมแสงที่ผ่านรูม่านตาเข้ามา เมื่อเราเพ่งมองไปที่วัตถุที่อยู่ใกล้กับหน้าเรามาก ๆ กล้ามเนื้อตาจะหดตัว เพื่อให้เลนส์ตาโค้งงอและทำให้แสงที่ผ่านรูม่านตาถูกเลนส์ตารวมแสงและฉายภาพให้ไปตกที่จอตาซึ่งอยู่ด้านหลังของดวงตา จอตาจะแปละภาพที่ได้รับให้เป็นสัญญาณส่งไปให้สมองตีความอีกที

แสงผ่านเข้าสู่นัยน์ตาทางรูเล็กๆที่เรียกว่ารูม่านตา เกิดภาพสองมิติหัวกลับบนเรตินา ซึ่งเป็นเสมือนฉากรับภาพที่อยู่ด้านหลังของนัยน์ตา หน่วยรับความรู้สึกที่อยู่บนเรติน่าประกอบไปด้วยเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย ทำหน้าที่เปลี่ยนภาพนี้ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังสมองโดยผ่านเส้นประสาทตา และสมองแปลงสัญญาณเป็นภาพสามมิติหัวตั้ง บริเวณที่เส้นประสาทตาเชื่อมต่อกับนัยน์ตาไม่มีทั้งเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย บริเวณนี้เรียกว่า จุดบอด ถ้าภาพตกบริเวณนี้พอดี เราจะไม่สามารถมองเห็นภาพได้ ปกติเรามักจะไม่ใส่ใจว่าจุดบอดของนัยน์ตาอยู่ที่ไหน เนื่องจากภาพมักตกบริเวณอื่นๆของเรติน่าด้วย และสมองของเราสามารถแปลความหมายให้มองเห็นภาพได้


จากขั้นตอนการทำงานของตา ทำให้เกิดลักษณะต่างๆ ดังนี้

ถ้าแสงผ่านเข้าไปในตาแล้วรวมแสง (Focus) ที่จอรับภาพ (Retina) พอดีเราเรียกลักษณะนี้ว่า สายตาปกติ

ถ้าแสงผ่านเข้าไปในตาแล้วรวมแสง (Focus) ก่อนหรือหลังจอรับภาพ เราเรียกลักษณะนี้ว่า สายตาผิดปกติ