PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

20 สายตา...สั้น เอียง ยาว แก่ คืออะไร



สายตาสั้น สายตาเอียง สายตายาว สายตาแก่ คืออะไร
โดย... พญ.ภัณฑิลา ดิษยบุตร จักษุแพทย์


สายตาสั้น

ผู้ที่มีสายตาสั้น จะมองเห็นในระยะใกล้ได้ชัดเจน แต่มองระยะไกลไม่ชัด เนื่องจากการหักเหของแสงมาตกก่อนที่จะถึงประสาทตา จึงไม่สามารถรับภาพได้ชัดเจน



สายตาเอียง

เนื่องมาจากเลนส์ของลูกตาหรือแก้วตาเบี้ยวผิดปกติ ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด และไม่เหมือนธรรมดา สายตาเอียงวัดด้วยดีกรีหรือองศา มีตั้งแต่ศูนย์ถึงร้อยแปดสิบองศา



สายตายาว

จะมองไม่ชัดทั้งไกลและใกล้ เนื่องจากการหักเหของแสงไม่พอ เมื่อเป็นกับเด็กๆ ลูกตาจะสามารถปรับสายตาได้ทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน แต่อาจมีอาการปวดศีรษะหรือปวดลูกตา หรือเมื่อยตาหรืออ่านหนังสือไม่ทน ถ้าผู้สูงอายุที่มีสายตายาว ลูกตาจะปรับตัวไม่ได้ ผู้นั้นจะมองไม่ชัดทั้งไกลและใกล้



สายตาแก่ หรือ สายตายาว

เป็นอีกแบบหนึ่งซึ่งเกิดกับผู้มีอายุตั้งแต่ สี่สิบปีขึ้นไป ที่เรามักเรียกว่าสายตายาว ผู้นั้นจะมองไกลได้ชัดเจนแต่เวลาอ่านหนังสือจะดูพร่าเลือนไป ต้องยืดแขนออกไปเพื่อให้อ่านหนังสือได้ชัดเจน จะต้องใช้แว่นขยาย หรือ เลนส์บวก เพื่อช่วยใน การอ่านหนังสือแต่ไม่ต้องใช้แว่นในหารดูระยะไกล

อาการของโรคทางสายตา

1. มองไม่ชัด เกิดตามลักษณะของสายตาที่เป็นถ้าเป็นสายตาสั้นจะมองใกล้ได้ชัด มองไกลไม่ชัด สำหรับสายตาแก่ ก็จะมองไม่ชัดเวลาอ่านหนังสือ

2. ปวดศีรษะและปวดตา จะมีอาการเมื่อยตา หรือมีอาการปวดบริเวณท้ายทอยในขณะที่พยายามเพ่งสายตา

3. อ่านหนังสือไม่ได้นาน บางรายอ่านหนังสือได้บ้างแต่อ่านไม่ได้ทน เช่น ผู้ที่สายตายาวเมื่ออ่านไปนานๆ ตัวหนังสือจะพร่าไปหมดและอาจมีอาการปวดศีรษะตามมา

4. มีอาการตาเหล่ ในรายที่มีสายตายาวมากๆมักจะมีตาเหล่ เข้าที่หัวตา ส่วนพวกที่สายตาสั้นมากๆ ก็อาจมีอาการตาเหล่ออกได้ สายตาผิดปกติส่วนมากเป็นกรรมพันธุ์ พวกที่ตาผิดปกติส่วนใหญ่เห็นกรรมพันธุ์เกิดจากที่พ่อแม่มีสายตาที่ผิดปกติ บางรายพ่อแม่ตาเป็นปกติแต่ลูกกลับสายตาสั้นก็มีหรือกลับกัน แต่โดยทั่วล้วนพ่อแม่ที่มีสายตาผิดปกติมีโอกาสที่ลูกจะมีสายตาผิดปกติสูงกว่าธรรมดา

เกิดสายตาผิดปกติในวัยใด

สายตาผิดปกติเกิดได้กับทุกวัยบางรายเกิดตั้งแต่เด็กอายุน้อยๆ พ่อแม่จะเห็นว่าเด็กอ่านหนังสือจะก้มหน้าชิดหรือเอียงหน้า หรือบอกกับผู้ปกครองว่ามองไม่เห็น บางรายเริ่มมัวเมื่อโตขึ้นประมาณ สิบขวบ บางรายก็มีอาการเมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว

เพราะเหตุใดสายตาสั้นจึงเพิ่มเร็ว

เด็กๆที่สายตาสั้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นสายตาจะสั้นเพิ่มขึ้น ตรงข้ามกับผู้ที่สายตายาว เมื่ออายุมากขึ้นมักจะดีขึ้นสายตาจะยาวลดลง เหตุที่สายตาสั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นั้นก็เพราะว่า เมื่อร่างกายเจริญเติบโต ลูกตาของเราจะมีการเจริญเติบโตไปด้วย ทำให้สายตาสั้นเพิ่มมาก มักจะเริ่มช้าลงเมื่ออายุประมาณ 20 ปี

ควรตรวจสายตาเร็วหรือช้าเพียงใด

ขณะนี้ตามโรงเรียนทุกแห่งจะมีการให้วัดสายตาซึ่งถ้าหากพบว่าสายตาผิดปกติ ก็จะได้ให้พบแพทย์ต่อไป หรือถ้าหากพบว่าเด็กที่เล็กกว่านั้น มีอาการที่สงสัยว่า จะมีปัญหาเรื่องสายตา ก็ควรพาไปพบแพทย์เช่นเดียวกัน ในเด็กๆที่สายตาสั้นควรตรวจวัดสายตาทุกปี ส่วนผู้ที่ อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป นั้นนอกจากการตรวจวัดสายตาแล้ว ควรตรวจตาโดยทั่วไปด้วยรวมทั้ง การวัดความดันตาเพื่อตรวจหาต้อหินด้วย

เหตุใดตาสองข้างจึงสั้นหรือยาวไม่เท่ากัน

โดยปกติแล้วตาทั้งสองข้างจะมีสายตาสั้นหรือยาวต่างกันบ้าง ในบางรายสายตาสองข้าง อาจแตกต่างกันมากโดยตาข้างที่สั้นกว่าหรือยาวกว่าจะใช้งานได้ไม่เต็มที่ซึ่ง หากไม่ได้แก้ไขแต่เด็ก จะเกิดเป็นตาขี้เกียจได้และเมื่อใส่แว่นให้ตรงตามสายตาแล้ว ก็ยังไม่ชัดเจน

โรคแทรกซ้อนจากสายตาสั้น

อาจเกิดโรคบางอย่างได้เช่น วุ้นน้ำเหลืองในตาขุ่นเกิดเห็นเงาดำๆลอยไปมาในลูกตา ในกรณีที่สายตาสั้นมากๆ อาจเกิดข้อแทรกซ้อนที่ประสาทตาเช่น ประสาทตาฉีกขาด หรือจอประสาทตาเสื่อม หรือ ถ้าหากสายตาสองข้างมีความแตกต่างกันมากๆ ไม่ได้รับการแก้ไข ตั้งแต่เล็กๆก็อาจทำให้ตาข้าง นั้นที่ผิดปกติขี้เกียจไป ถึงแม้เมื่อแก้ไขด้วยแว่นเมื่อตอนโตก็ยังไม่สามารถทำให้สายตาดีเท่าปกติได้

การรักษา

สายตาจะเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติของคนนั้น การใส่หรือถอดแว่นไม่ได้มีผลทำให้สายตาเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ขณะนี้มีการผ่าตัดรักษาสายตา ซึ่งจะกล่าวต่อไปในครั้งหน้า