PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

13 โรคตาแดง


โรคตาแดง

เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง เพราะส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส แต่ถ้าไม่รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง การใช้ contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรังได้

การติดต่อ :

จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ได้แก่ การสัมผัสโดยตรงกับน้ำตา ขี้ตา น้ำมูกของผู้ป่วย

จากใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ หรือจากแมลงวันแมลงหวี่ตอมตา

ตาแดงเป็นข้างหนึ่งหรือสองข้าง :

เป็นพร้อมกันสองข้างโดยมากมักจะเกิดจากภูมิแพ้

เป็นข้างหนึ่งก่อนแล้วค่อยเป็นสองข้างสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อเช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือ Chlamydia

ผู้ที่มีโรคตาแดงข้างเดียวแบบเรื้อรัง ชนิดนี้ต้องส่งปรึกษาแพทย์ :

อาการปวดตาหรือมองแสงจ้าไม่ได้ มักจะเกิดจากโรคชนิดอื่นเช่น ต้อหิน ม่านตา อักเสบ

ดังนั้นหากมีตาแดงร่วมกับปวดตาหรือมองแสงไม่ได้ ตามัวแม้ว่ากระพริบตาแล้วก็ยังมัวอยู่ โรคตาแดงมักจะเห็นปกติหากมีอาการตามัวร่วมกับตาแดงต้องปรึกษาแพทย์

อาการ :

แพทย์จะถามถึงยาที่ท่านรับประทาน ยาหยอดตา เลนส์ น้ำยาล้างตา ระยะเวลาที่เป็น ประวัติอื่น การเป็นหวัด การใช้ยาหยอดตา น้ำตาเทียม เครื่องสำอาง โรคประจำตัว

อาการที่สำคัญคือ :

คันตา เป็นอาการที่สำคัญของผู้ป่วยตาแดงที่เกิดจากภูมิแพ้ อาการคันอาจจะเป็นมากหรือน้อย

ลักษณะของขี้ตาก็ช่วยบอกสาเหตุของโรคตาแดง :

ขี้ตาใสเหมือนน้ำตามักจะเกิดจากไวรัสหรือโรคภูมิแพ้

ขี้ตาเป็นเมือกขาวมักจะเกิดจากภูมิแพ้หรือตาแห้ง

ขี้ตาเป็นหนองมักจะร่วมกับมีสะเก็ดปิดตาตอนเช้าทำให้เปิดตาลำบากสาเหตุมักจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

หลังได้รับเชื้อประมาณ 1-2 วัน จะเริ่มมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง โดยอาจเริ่มที่ตาข้างหนึ่งก่อน แล้วจึงลามไปตาอีกข้าง

ผู้ป่วยมักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดูแลรักษาให้ถูกวิธี อาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น กระจกตาดำอักเสบ ทำให้ปวดตา ตามัว

การปฏิบัติตัวและการป้องกันโรคตาแดง :

เมื่อมีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตา ควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที

เมื่อมีอาการของโรค ควรพบแพทย์เพื่อรับยาหยอดตาหรือยาป้ายตาป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยใช้ติดต่อกันประมาณ 7 วัน หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้แก้ปวดตามอาการ

หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่บ่อยๆ

ไม่ควรขยี้ตา อย่าให้แมลงตอมตา และไม่ควรใช้สายตามากนัก

ผู้ป่วยควรนอนแยกจากคนอื่นๆ และไม่ใช้สิ่งของต่างๆร่วมกัน และไม่ควรไปในที่มีคนมากเพื่อไม่ให้โรคแพร่ระบาด

ถ้ามีอาการปวดตารุนแรง ตาพร่ามัว หรืออาการไม่ทุเลาภายใน 1 สัปดาห์ ต้องรีบพบแพทย์อีกครั้ง

อย่าใช้เครื่องสำอางร่วมกับคนอื่น

อย่าใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกัน

ใส่แว่นตากันถ้าต้องเจอสารเคมี

อย่าใช้ยาหยอดตาของผู้อื่น

อย่าว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้ใส่คลอรีน

ยาเมื่อไม่ได้ใช้ให้ทิ้ง

เช็ดลูกบิดด้วยน้ำสบู่เพื่อฆ่าเชื้อโรค

การรักษาตาแดงด้วยตัวเอง :

ประคบเย็นวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ10-15 นาที

ล้างมือบ่อยๆ

อย่าขยี้ตาเพราะจะทำให้ตาระคายมากขึ้น

ใส่แว่นกันแดด หากมองแสงสว่างไม่ได้

อย่าใส่ contact lens ช่วงที่มีตาแดง

เปลี่ยนปลอกหมอนทุกวัน เปลี่ยนหมอนทุก 2 วัน

การหยอดยาหยอดตา :

ล้างมือก่อนหยอดตาทุกครั้ง

ดึงหนังตาล่างลง

ตาเหลือกมองเพดาน

หยอดตาตรงกลางเปลือกตาล่าง

ปิดตาและกรอกตาไปมาเพื่อให้ยากระจาย

การหยอดครีมให้หยอดจากหัวตาบีบไปปลายตา ปิดตาและกรอกตาไปมา

เช็ดยาที่ล้นออกมา

ล้างมือหลังหยอดเสร็จ

หากมีอาการต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์ :

ตามัวลง

ปวดตามากขึ้น

กรอกตาแล้วปวด

ไข้

ให้ยาไปแล้ว 48 ชั่วโมงไม่ดีขึ้น

น้ำตายังไหลอยู่แม้ว่าจะได้ยาครบแล้ว

แพ้แสงอย่างมาก