PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

24 น้ำนมแม่ / ตาบอดสี colour blindness


น้ำนมแม่

น้ำนมแม่นั้นนอกจากจะมีประโยชน์ต่อทารกในวัยแรกเกิดแล้ว น้ำนมยังมีสรรพคุณต่างๆมากมาย ดังเช่นที่คนในสมัยก่อนนั้นได้เอาน้ำนมมาเป็นส่วนประกอบในการรักษาโรคต่างๆ ดังความเชื่อที่ว่า

- ถ้าเอาน้ำนมของคนทาที่ศีรษะของเด็กทารกที่มีผมบางจะมีผมขึ้นดกหนา

- ถ้าเอาน้ำนมหยอดตาคนที่เป็นโรคตาแดง จะหายจากการเป็นโรคตาแดงได้

นอกจากนั้นคนโบราณยังใช้น้ำนมมนุษย์ผสมกับดินปืน ใส่ในกระบอกดอกไม้ไฟ เชื่อว่าเมื่อจุดกระบอกไฟจะไม่ค่อยมีควันและมีดอกสวยงามสว่างไสว ความเชื่อเหล่านี้ยังถูกถ่ายทอดสืบต่อๆมา ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในต่างจังหวัด


ตาบอดสี colour blindness

ตาบอดสี หรือที่เรียกว่า colour blindness เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลแปรภาพสีผิดไป จากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ ตาเป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม หากเกิดความ ผิดปกติไม่ว่า จะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น บุคคลนั้นๆ ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ภาวะตาบอดสีเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมมากพอสมควร

ปกติแล้วตาคนเราจะมีเซลรับแสงอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเซลรับแสงที่รับรู้ถึงความมืด หรือ สว่าง ไม่สามารถแยกสีออกได้และจะมีความไวต่อการกระตุ้นแม้ในที่ที่มีแสงเพียงเล็กน้อย เช่น เวลากลางคืน เซลกลุ่มที่สองเป็นเซลล์ทำหน้าที่มองเห็นสีต่างๆ โดยจะแยกได้เป็นเซล อีก 3 ชนิด ตามระดับคลื่นแสง หรือสี ที่กระตุ้น คือ เซลล์รับแสงสีแดง เซลล์รับแสงสีน้ำเงิน และเซลรับแสงสีเขียวสำหรับแสงสีอื่น จะกระตุ้นเซลดังกล่าวมากกว่าหนึ่งชนิดแล้วให้สมองเราแปลภาพออก มาเป็นสีที่ต้องการ เช่น สีม่วงเกิด จากแสงที่กระตุ้นทั้งเซลรับแสงสีแดงและเซลรับแสงสีน้ำเงินในระดับที่พอๆกัน ซึ่งเซลกลุ่มที่สองนี้จะ ทำงานได้ดีต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ดังนั้นในที่สลัวๆเราจึงไม่สามารถแยกสีของวัตถุได้ แต่ยังพอบอก รูปร่างได้ เนื่องจากมีการทำงานในเซลของกลุ่มแรกอยู่ เมื่อเพิ่มแสงสว่างขึ้นเราจึงมองเห็นสีต่างๆขึ้นมา


ประเภทของตาบอดสี

โรคตาบอดสี พบได้ประมาณ 8% ของประชากร แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

กลุ่มที่เป็นตั้งแต่ กำเนิด (congenital color vision defects) กลุ่มที่มีความผิดปกติมาตั้งแต่ กำเนิดตาทั้ง 2 ข้างจะมีอาการมองเห็นสีผิดปกติเหมือนกันคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ที่สามารถเห็นสีได้ปกติจะต้องมีเซลล์รับแสงสีที่จอประสาทตาครบทั้ง 3 สี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน และมีปริมาณเม็ดสีในเซลล์ที่ปกติ รวมทั้งระบบประสาทตาและการแปลผลที่เป็นปกติด้วย ส่วนความผิดปกติของ เม็ดสี และเซลล์รับแสงสีน้ำเงินนั้น ถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม 7 จึงมีการถ่ายทอดแบบ autosomal dominant ซึ่งจะพบผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้น้อย

กลุ่มที่เป็นภายหลัง (acquired color vision defects) มักเกิดจากโรคทางจอประสาทตาหรือ โรคของเส้นประสาทตาอักเสบ มักจะเสียสีแดงมากกว่าสีอื่น และอาจเสียเพียงเล็กน้อย คือดูสีที่ควร จะเป็นนั้นดูมืดกว่าปกติ หรืออาจจะแยกสีนั้นไม่ได้เลยก็ได้

ซึ่งมักพบ กลุ่มแรก คือกลุ่มที่เป็นตั้งแต่กำเนิดบ่อยกว่ากลุ่มที่เป็นภายหลังเมื่อพิจารณาในกลุ่ม ที่ เป็นตั้งแต่เกิด กลุ่มย่อยที่พบได้บ่อยที่สุด คือ กลุ่มที่บอดสีเขียว-แดง ซึ่งพบได้ประมาณ 5-8% ใน ผู้ชาย และพบเพียง 0.5% ในผู้หญิง (ผู้ชายพบได้บ่อยกว่าเยอะนะครับ) ส่วนในกลุ่มที่เป็นภายหลัง มักพบเป็นการบอด สีน้ำเงิน-เหลือง และพบได้พอๆกันทั้งชายและหญิง ซึ่งจำนวนคนที่เป็น ในกลุ่มนี้น้อยกว่ากลุ่มที่เป็นแต่กำเนิดมาก


สาเหตุการเกิดตาบอดสี

ตาบอดสี (Clor blindness) เกิดขึ้นจากเซลล์ประสาทชนิดหนึ่งในม่านตาซึ่งมีความไวต่อสีต่างๆ มีความบกพร่องหรือพิการ ทำให้ดวงตาไม่สามารถที่จะมองเห็นสีบางสีได้ ตาบอดสี มีหลายชนิด ชนิดที่ทุกคนรู้จักโดยทั่วไปได้แก่ ตาบอดสีที่มองสีเขียวกับสีแดงไม่เห็น (Red–Green blindness) ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถแยกสีแดงกับสีเขียวจากสีอื่นๆได้ ดังนั้นคนตาบอดสีชนิดนี้จะมองเห็นสิ่งต่างๆในโลกเป็นสีน้ำเงิน สีเหลือง สีขาว สีดำ สีเทา และส่วนผสมของสีเหล่านั้นทั้งหมด

การพบโรคนี้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมักเป็นกับแบบ แดง-เขียวแทบทั้งหมด ผู้หญิงมีโอกาสเป็นน้อยกว่าเนื่องจากในผู้หญิงมีโครโมโซม X ถึงสองตัว ถ้าเพียงแต่ X ตัวใดตัวหนึ่งมียีนเหล่านี้อยู่ ก็สามารถรับรู้สีได้แล้ว ในขณะที่ผู้ชาย มีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว อีกตัวเป็น Y ซึ่งไม่ได้มีแพคเกจบรรจุยีนนี้แถมมาด้วย ;) ก็จะแสดง อาการได้เมื่อ X ตัวเดียวเท่าที่มีอยู่นั้นบกพร่องไป


การตรวจตาบอดสี โดยการให้อ่านอาจจะเป็นตัวเลขหรือสีซึ่งคนตาปกติจะบอกได้ถูกต้อง

ตาบอดสีมีหลายชนิด ชนิดที่พบบ่อยที่สุด เรียกว่า red/green colour blindness โดยจะแยก สีแดงและสีเขียวค่อนข้างลำบากโดยเฉพาะเวลาที่แสงไม่สว่างนัก ส่วนน้อยลงมาของคนที่มีตาบอด สีคือพวกที่ไม่สามารถแยกสีน้ำเงินกับสีเหลือง จะมีบ้างเหมือนกันที่เป็นโรคตาบอดสีทุกสีเลยแต่เป็นส่วนน้อยมาก คนที่บอดสี แดง-เขียวมักจะบอดสี น้ำเงิน-เหลืองด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นตาบอดสี ชนิดใด ล้วนจะมีสายตาหรือการมองเห็น (vision) ที่เป็นปกติ เพียงแต่ความสามารถในการแยกสี ไม่ปกติเท่านั้นเอง

กลุ่มที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาภายหลัง มักเกิดจากการถูกทำลายของจอประสาทตาเส้นประสาทตา หรือส่วนรับรู้ในสมอง จากสาเหตุต่างๆ เช่น การอักเสบ ภาวะขาดเลือด อุบัติเหตุเนื้อ งอก การเสื่อมลงของจอประสาทตา หรือผลข้างเคียงจากยาหรือสารเคมี

ป่วยมักจะมีอาการเรียกชื่อสีหรือเห็นสีผิดไปจากเดิม โดยมากพบความผิดปกติของการมอง สี น้ำเงินเหลือง มากกว่าแดงเขียว ความผิดปกติของตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน อาจเป็นตาเดียวหรือทั้ง 2 ตา มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือลดลงได้ รวมทั้งมีความผิดปกติของสายตาด้านอื่นๆ เช่น การมอง เห็นและลานสายตาลดลงได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค


อย่างไรก็ตาม มีอาชีพที่คนตาบอดสีไม่ควรทำได้แก่ อาชีพที่ต้องใช้ความสามารถในการแยกแยะสีเป็นสำคัญ เช่น นักเคมีที่ต้องทำงานกับสี, จิตรกร, พนักงานตรวจคุณภาพสินค้า (QC), ฯลฯ นอกจากนี้ อาชีพที่ไม่ควรรับคนตาบอดสีทำงานก็คือ อาชีพที่ต้องมีการใช้สีเป็นตัวแสดงถึงสิ่งต่างๆ เช่น ในอุปกรณ์ อีเลกโทรนิค, นักบิน, นักเดินเรือ เป็นต้น

นอกจากนี้พบว่า ตาบอดสีไม่ใช่จะมีแต่ข้อเสียเท่านั้น เราพบว่าคนตาบอดสีสับสนในเรื่องของสี แต่มีความสามารถในการแยกสีเฉดเดียวกันที่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยได้ดีกว่าคนปกติ เช่น คนตาบอดสีเขียวจะแยกสีที่คล้ายกัน เช่น เขียวอ่อน เขียวอมเหลืองได้ดี ในบางประเทศ เช่น อิสราเอลมีการรับคนที่ตาบอดสีเข้าประจำในกองทัพบก เพราะคนเหล่านี้จะมองเห็นรถถังที่ทาสีพรางตัวอยู่ในภูมิประเทศได้ดีกว่าคนธรรมดา