PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

38 ริดสีดวงตา


ริดสีดวงตา

ริดสีดวงตา เป็นโรคตาอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยในบ้านเรา พบมากทางภาคอีสาน และในที่ๆแห้งแล้ง กันดารมีฝุ่นมาก และมีแมลงหวี่ แมลงวันชุกชุม พบได้ในคนทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กวัยก่อนเรียนที่พ่อแม่ปล่อยให้เล่นสกปรกทั้งวัน การอักเสบจะเป็นเรื้อรังเป็นแรมเดือนแรมปี และอาจติดเชื้ออักเสบซ้ำๆหลายครั้ง เนื่องจากภูมิต้านทานต่อโรคนี้มักมีอยู่เพียงชั่วคราว โรคนี้ในบ้านเราถือเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้คนตาบอด

สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อริดสีดวงตาที่มีชื่อว่า คลามีเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis) ซึ่งเป็นเชื้อที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่างไวรัสกับแบคทีเรีย ติดต่อโดยการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง ทำให้เชื้อจากคนที่เป็นโรคแพร่ไปเข้าตาของอีกคนหนึ่ง บางครั้งอาจติดต่อผ่านทางผ้าเช็ดตัว เครื่องใช้ต่างๆที่ใช้ร่วมกัน หรือผ่านทางแมลงหวี่แมลงวันที่มาตอมตา นำเชื้อจากคนหนึ่งไปให้อีกคนหนึ่ง การติดต่อมักจะต้องอยู่ใกล้ชิดกันนานๆ จึงมักพบเป็นพร้อมกันหลายคนในครอบครัวเดียวกัน เชื้อนี้จะเข้าไปทำให้เกิดการอักเสบที่เยื่อบุตาขาวและกระจกตา (ตาดำ) ระยะฟักตัว 5-12 วัน

อาการแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

1. ระยะแรกเริ่ม มี อาการเคืองตา คันตา น้ำตาไหล ตาแดงเล็กน้อย และอาจมีขี้ตา ซึ่งมักจะเป็นที่ตาทั้งสองข้าง อาการจะคล้ายกับเยื่อบุตาอักเสบจากเชื้ออื่นๆ จนบางครั้งแยกกันไม่ออก แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าพบว่ามีอาการเรื้อรังนาน 1-2 เดือน และอยู่ในท้องถิ่นที่มีโรคนี้ชุกชุม หรือมีคนในบ้านเป็นโรคนี้อยู่ก่อน ก็อาจให้การรักษาแบบโรคริดสีดวงตาไปเลย ถึงแม้ไม่ได้รักษาในระยะนี้บางคนอาจหายได้เองแต่บางคนอาจเข้าสู่ระยะที่ 2

2. ระยะที่เป็นริดสีดวงแน่นอนแล้ว การอักเสบจะลดน้อยลง ผู้ป่วยจะมีอาการต่างๆลดลงกว่าระยะที่ 1 แต่ถ้าพลิกเปลือกตาดู จะพบเยื่อบุตาหนาขึ้น และเห็นเป็นตุ่มเล็กๆที่เยื่อบุตาบน (ด้านในของผนังตาบน) นอกจากนี้จะพบว่ามีแผ่นเยื่อบางๆออกสีเทาๆที่ส่วนบนสุดของตาดำ (กระจกตา) ซึ่งจะมีเส้นเลือดฝอยวิ่งเข้าไปในตาดำ แผ่นเยื่อสีเทาซึ่งมีเส้นเลือดฝอยอยู่ด้วยนี้ เรียกว่า แพนนัส (Pannus) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ (เยื่อตาขาวอักเสบจากการแพ้ อาจมีตุ่มเล็กๆที่เยื่อบุเปลือกตา แต่จะไม่มีแพนนัสที่ตาดำ) ระยะนี้อาจเป็นอยู่นานเป็นเดือนๆ หรือปีๆ

3. ระยะเริ่มแผลเป็น ระยะนี้อาการเคืองตาลดน้อยลง จนแทบไม่มีอาการอะไรเลย ตุ่มเล็กๆที่เยื่อบุเปลือกตาบนเริ่มค่อยๆยุบหายไป แต่จะมีพังผืดแทนที่กลายเป็นแผลเป็น ส่วนแพนนัสที่ตาดำยังคงปรากฏให้เห็น ระยะนี้อาจกินเวลาเป็นปีๆเช่นกัน การใช้ยารักษาในระยะนี้ไม่ค่อยได้ผล

4. ระยะของการหายและเป็นแผลเป็น ระยะนี้เชื้อจะหมดไปเอง แม้จะไม่ได้รับการรักษา แพนนัสจะค่อยๆหายไป แต่จะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ที่พบได้คือ แผลเป็นที่เปลือกตา ทำให้ขนตาเกเข้าไปตำถูกตาดำ เกิดเป็นแผลทำให้สายตามืดมัว และแผลเป็น อาจอุดกั้นท่อน้ำตา ทำให้น้ำตาไหลตลอดเวลา หรือไม่อาจทำให้ต่อมน้ำตาไม่ทำงาน ทำให้ตาแห้ง นอกจากนี้ อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ตาดำเป็นแผลเป็นมากขึ้น จนในที่สุด ทำให้ตาบอด

แต่อย่างไรก็ตาม โรคนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุนแรงทุกคน บางคนเป็นแล้ว อาจหายได้เองในระยะแรกๆ ส่วนคนที่มีภาวะแทรกซ้อน มักจะมีการติดเชื้ออักเสบบ่อยๆ ประกอบกับมีปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น การติดเชื้อ แบคทีเรียซ้ำเติม ขาดอาหาร ขาดวิตามิน เป็นต้น


คำแนะนำ:

1. โรคนี้ควรแยกออกจาก เยื่อตาขาวอักเสบชนิดอื่น ควรสงสัยเป็นริดสีดวงตา เมื่อมีการอักเสบเรื้อรังเป็นเดือนๆ และอยู่ในท้องถิ่นที่มีโรคนี้ชุกชุม

2. คำว่าริดสีดวงตา ชาวบ้านหมายถึง อาการเคืองตา คันตาเรื้อรัง ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการแพ้ หรือจากการติดเชื้อริดสีดวงตา (Trachoma) ก็ได้ ทั้ง 2 โรคนี้มีสาเหตุอาการ ภาวะแทรกซ้อน และการรักษาต่างกัน

3. การรักษาริดสีดวงตา ต้องลงมือรักษาตั้งแต่ในระยะที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นระยะที่มีการติดเชื้อรุนแรง การใช้ยาปฏิชีวนะจะสามารถทำลายเชื้อ และป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ในระยะที่ 3 และ 4 เป็นระยะที่การติดเชื้อเบาบางลงแล้ว และเปลือกตาเริ่มเป็นแผลเป็น การใช้ยาปฏิชีวนะในระยะนี้ จึงไม่ค่อยได้ประโยชน์ คือไม่สามารถลดหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ ควรรักษาผู้ป่วยที่มีอยู่ในบ้านพร้อมกันทุกคน

4. อาการขนตาเก (ตาน้ำ ก็เรียก) นอกจากมีสาเหตุจากริดสีดวงตาแล้ว ยังอาจพบในคนสูงอายุ เนื่องจากหนังตาล่างหย่อนยาน ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวมากกว่าปกติ ดึงเอาขอบตาม้วนเข้าใน เรียกว่า อาการเปลือกตาหันเข้าใน (Entropion) ทำให้มีขนตาทิ่มตำถูกตาขาวและตาดำ มีอาการเคืองตา น้ำตาไหล เยื่อบุตาอักเสบ ถ้าปล่อยไว้ อาจทำให้มีแผลที่กระจาตาดำ สายตามืดมัวหรือตาบอดได้ การรักษา ถ้ามีขนตาเกเพียงไม่กี่เส้น ก็อาจใช้วิธีถอนขนตา แต่ถ้ามีหลายเส้น ควรแนะนำไปผ่าตัดที่โรงพยาบาล

การป้องกัน:

1. ไม่ปล่อยให้เด็กเล่นฝุ่นละออง หรือให้แมลงหวี่ แมลงวันตอมตา

2. ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย

3. หมั่นล้างมือล้างหน้าให้สะอาดอยู่เสมอ

4. กำจัดขยะมูลฝอยในบริเวณบ้านด้วยวิธีเผา หรือฝังเพื่อป้องกันมิให้ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ แมลงและเชื้อโรค

หมายเหตุ:

ริดสีดวงตา อาจทำให้ตาบอดได้ แต่จะหายขาด ถ้าลงมือรักษาตั้งแต่แรก